คำอวยพรผู้อาวุโส
ศุภฤกษ์มงคลกาลสมัย ขอพระตรัยรัตนาช่วยรักษา
พระเสื้อเมืองพระทรงเมืองปวงเทวา จงรักษาให้อยู่สุขทุกวันคืน
นาย สุรเกียรติ นวลยานัส ม.3/8 เลขที่ 30
MV เพลงไทย
เพลง สัญญาเมื่อสายันห์
นักร้อง ไท ธนาวุฒิ
นาย สุรเกียรติ นวลยานัส เลขที่ 30 3/8
นาย นำโชค สาโดด เลขที่ 44 3/8
สนธิ เป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงตามหลักภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อเสียงสองเสียงอยู่ใกล้กัน จะมีการกลมกลืนเป็นเสียงเดียวกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะสระและนิคหิตที่มาเชื่อมเพื่อการกลมกลืนเสียงให้เป็นธรรมชาติของการออกเสียง และทำให้คำเหล่านั้นมีเสียงสั้นเข้า เช่น
สุข + อภิบาล เป็น สุขาภิบาล
ภูมิ + อินทร์ เป็น ภูมินทร์
สนธิ มี 3 ลักษณะ คือ
1. สระสนธิ
2. พยัญชนะสนธิ
3. สระสนธิ
1. สระสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ เพื่อให้เสียงสระ 2 เสียงได้กลมกลืนเป็นเสียงสระเดียวกัน สระที่เป็นคำท้ายของคำหน้าจะได้แก่ สระอะ อา อิ อี อุ อู เป็นส่วนใหญ่ เช่น
1. สระอะ อา ถ้าสนธิกับสระอะ อา ด้วยกัน จะรวมเป็นสระอะ อา เช่น
เทศ + อภิบาล เป็น เทศาภิบาล
กาญจน + อาภรณ์ เป็น กาญจนาภรณ์
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอะ อาของพยางค์ที่มีตัวสะกด จะรวมเป็นสระอะที่มีตัวสะกด เช่น
มหา + อรรณพ เป็น มหรรณพ
มหา + อัศจรรย์ เป็น มหัศจรรย์
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอิ อี จะรวมเป็นสระอิ อี หรือเอ เช่น
นร + อินทร์ เป็น นรินทร์ หรือ นเรนทร์
มหา + อิสิ เป็น มหิสิ หรือ มเหสี
มหา + อิทธิ เป็น มหิทธิ
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอุ อู จะรวมเป็นสระอุ อู หรือโอ เช่น
มัคค + อุเทศก์ เป็น มัคคุเทศก์
ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์
นย + อุบาย เป็น นโยบาย
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระเอ ไอ โอ เอา จะรวมเป็นเอ ไอ โอ เอา เช่น
ชน + เอก เป็น ชเนก
มหา + โอฬาร เป็น มโหฬาร
โภค + ไอศวรรย์ เป็น โภไคศวรรย์
2. สระอิ อี สนธิกับสระอิ จะรวมเป็นสระอิ เช่น
ภูมิ + อินทร์ เป็น ภูมินทร์
มุนิ + อินทร์ เป็น มุนินทร์
โกสี + อินทร์ เป็น โกสินทร์
แต่ถ้าสระอิ อี สนธิกับสระอื่น เช่น อะ อา อุ โอ มีวิธีการ 2 อย่าง คือ
ก. แปลงรูปอิ อี เป็น ย ก่อน แล้วจึงนำไปสนธิตามแบบ อะ อา แต่ถ้าคำนั้นมีตัวสะกด ตัวตาม ต้องตัดตัวตามออกเสียก่อน เช่น
รัตติ เป็น รัตย ไม่ใช่ รัตติย
อัคคี เป็น อัคย ไม่ใช่ อัคคย
แล้วจึงนำมาสนธิ ดังนี้
มติ + อธิบาย เป็น มัตย + อธิบาย เป็น มัตยาธิบาย
อัคคี + โอภาส เป็น อัคย+ โอภาส เป็น อัคโยภาส
ข. ตัดอิ อี ออก แล้วสนธิแบบ อะ อา เช่น
หัตถี +อาจารย์ เป็น หัตถาจารย์
ศักดิ + อานุภาพ เป็น ศักดานุภาพ
3. สระอุ อู ถ้าสระอุ อูสนธิกัน รวมกันเป็นรูปสระอุ อู เช่น
ครุ, คุรุ + อุปถัมภ์ เป็น คุรุปกรณ์, คุรูปกรณ์
ครุ, คุรุ + อุปถัมภ์ เป็น คุรุปถัมภ์, คุรูปถัมภ์
แต่ถ้าสระอุ อู นี้สนธิกับสระอื่น จะต้องเปลี่ยนรูป อุ อู เป็น ว แล้วสนธิตามแบบ อะ อา เช่น
จักขุ + อาพาธ เป็น จักขว + อาพาธ เป็น จักขวาพาธ
เหตุ + อเนกรรถ เป็น เหตว + อเนกรรถ เป็น เหตวาเนกรรถ
ธนู + อาคม เป็น ธนว + อาคม เป็น ธันวาคม
2. พยัญชนะสนธิ ในภาษาบาลี คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วย สระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้น ด้วยสระหรือพยัญชนะ ส่วนในภาษาสันสกฤต คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วย พยัญชนะไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วย สระหรือพยัญชนะ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ยุ่งยาก จะไม่นำมากล่าวในที่นี้ เรารับคำสมาส ที่มีสนธิของภาษาบาลีสันสกฤต มาใช้ เช่น
มน+ ภาว ( บ. ) มนสฺ + ภาว ( ส ) = มโนภาว ไทยใช้ มโนภาพ
เตช + ชย ( บ. ) เตชสิ + ชย ( ส ) = เตโชชย ไทยใช้ เตโชชัย
3. นิคหิตสนธิ ( หรือนิคหิตสนธิ ) เป็นการนำคำที่ลงท้าย นิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วย พยัญขนะหรือสระก็ได้ มีหลักดังนี้
1. ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรค ให้แปลงรูปนิคหิตเป็นพยัญชนะท้ายวรรคก่อนแล้วจึงนำไปสนธิกัน
พยัญชนะท้ายวรรคของพยัญชนะวรรคทั้ง 5 วรรค ได้แก่ ง ญ ณ น ม
ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญขนะวรรค ก ได้แก่ ก ข ค ฆ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ง ดังนี้
สํ + กร เป็น สังกร สํ + ขาร เป็น สังขาร
สํ + คม เป็น สังคม สํ + คีต เป็น สังคีต
ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค จ ได้แก่ จ ฉ ช ฌ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ญ
สํ + จร เป็น สัญจร สํ + ชาติ เป็น สัญชาติ
สํ + ญา เป็น สัญญา สํ + ชย เป็น สัญชัย
ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ฏ ได้แก่ ฏ ฐ ฑ ม ให้เปลี่ยน ํ เป็น ณ
สํ + ฐาน เป็น สัณฐาน สํ + ฐิติ เป็น สัณฐิติ
ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ตได้แก่ ต ถ ท ธ ให้เปลี่ยน ํ เป็น น ดังนี้
สํ + ธาน เป็น สันธาน สํ + นิบาต เป็น สันนิบาต
ถ้านิคหิตสนธิกับพยัยชนะวรรค ป ได้แก่ ป ผ พ ภ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ม ดังนี้
สํ + ผสฺส เป็น สัมผัสส ( ไทยใช้ สัมผัส )
สํ + ภาษณ เป็น สัมภาษณ์ สํ + ภว เป็น สมภพ
2. ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค (พยัญชนะอวรรค) ให้เปลี่ยนเป็นดัง ก่อนแล้วจึงสนธิกัน
พยัญชนะเศษวรรค ได้แก่ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ สนธิดังนี้
สํ + โยค เป็น สังโยค สํ+ วร เป็น สังวร
สํ + วาส เป็น สังวาส สํ+ หร เป็น สังหร
3. ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ จะต้องเปลี่ยน ํ เป็น ม ก่อนแล้วจึงสนธิกัน เพื่อให้เสียงของคำเชื่อมกันสนิท
สํ + อาทาน เป็น สมาทาน
สํ + อิทธิ เป็น สมาธิ
การสนธิเป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงเมื่อเสียง 2 เสียงใกล้กัน และการเปลี่ยนแปลงเสียงนี้ จะปรากกในคำสมาสและคำที่ลงอุปสรรค ดังกล่าว เช่น
หัตถี + อาจารย์ เป็น หัตถาจารย์
เป็นคำสนธิที่ปรากฏในคำสมาส
สํ+ ตาน เป็น สันตาน ( ไทยใช้ สันดาน )
เป็นคำสนธิที่ปรากฏในคำลงอุปสรรค
ดังนั้น การสนธิจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงเท่านั้น มีอยู่ในการสมาสและการลงอุปสรรค ไม่ใช่การสร้างคำใหม่